1. การจัดการประชุมวิชาการประจำปี (Annual Meeting)
การจัดการประชุมวิชาการประจำปีครั้งที่ 29 ประจำปี 2550 the Combined Meeting of the 29thAnnual Meeting of The Royal College of Orthopaedic Surgeons of Thailand and the Meeting ofBone and Joint Decade Foundation and Asian Federation of Sports Medicine มี Theme หลักของการประชุมคือ Sports medicine โดยจัดในวันที่ 18-22 ตุลาคม พ.ศ.2550 ประธานจัดงานคือนพ.ธีรวัฒน์กุลทนันทน์ เลขาธิการคือนพ.สารเนตร์ ไวคกุลการจัดการประชุมวิชาการประจำปีครั้งที่ 30 ประจำปี 2551 The 30th Annual Meeting of TheRoyal College of Orthopaedic Surgeons of Thailand มี theme ของการประชุมคือ Extend the Horizonin Spine and Paediatric Orthopaedics โดยจัดในวันที่ 22-23 ตุลาคม พ.ศ.2551 โดยประธานจัดงานคือนพ.วิศิษฐ์ นครชัย เลขาธิการคือนพ.สำเริง เนติ
2. การประชุมวิชาการส่วนภูมิภาคที่ จ.ขอนแก่น
ตามที่มีสมาชิกฯส่วนหนึ่งที่จะต้องปฏิบัติงานในส่วนภูมิภาคไม่มีโอกาสเข้าร่วมประชุมประจำปี จึงได้มีการรื้อฟื้นการจัดการประชุมวิชาการภูมิภาคของราชวิทยาลัยฯขึ้นทุก 2 ปี อีกครั้งหนึ่ง ภาควิชาออร์โธปิดิกส์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดประชุมส่วนภูมิภาค เมื่อวันที่ 27-28 มีนาคมพ.ศ.2551 ณ โรงแรมโซฟิเทล ราชาออร์คิด โดยมีนพ.ศักดา ไชกิจภิญโญเป็นประธานจัดงาน
3. โครงการความรู้สู่ประชาชน
ราชวิทยาลัยฯร่วมกับองค์กรร่วมทศวรรษโรคกระดูกและข้อแห่งประเทศไทย (ค.ศ. 2000 - 2010)จัดกิจกรรมความรู้สู่ประชาชนเรื่องโรคกระดูกและข้อ ในวันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2550 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ รพ.ราชวิถี
4. ทูลเกล้าฯถวายรายได้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี
ราชวิทยาลัยฯ ร่วมกับมูลนิธิแพทย์ออร์โธปิดิกส์ และคณะกรรมการจัดการประชุมวิชาการประจำปี2550 นำรายได้จากการจัดการประชุม the 29th Annual Meeting of Royal College of OrthopaedicSurgeons of Thailand, Bone and Joint Decade and Asian Federation of Sport Medicine for TheCelebrations on the Auspicious Occasion of His Majesty the King’s 80 Birthday Anniversaryเข้าทูลเกล้าฯถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีเพื่อทรงใช้โดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย จำนวน 2,000,000 บาท เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2551และวันที่ 29 กันยายน 2551 ณ ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
5. การจัดคูหาแสดงนิทรรศการในการประชุมประจำปี 2551 ของ AAOS
ราชวิทยาลัยฯได้รับเกียรติจาก AAOS ในการให้พื้นที่จัดคูหาแสดงนิทรรศการในการประชุมประจำปี2551 ของ AAOS โดยข้อมูลที่นำไปแสดงในรูปที่คั่นหนังสือ และโปสเตอร์ ปีนี้เป็นเรื่องของนพ.ธำรงรัตน์แก้วกาญจน์ แพทย์ออร์โธปิดิกส์ไทยคนแรกที่สำเร็จวุฒิบัตรออร์โธปิดิกส์จากสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ยังมีแผ่นพับประชาสัมพันธ์การประชุมราชวิทยาลัยฯประจำปี 2551 ไปแจกในงาน
6. การปรับปรุงสำนักงานราชวิทยาลัยฯ
ราชวิทยาลัยฯได้ปิดปรับปรุงสำนักงานราชวิทยาลัยฯ ณ ชั้น 4 อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปีเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2551 โดยมีสำนักงานชั่วคราวในขณะนั้นอยู่ที่ ชมรมศัลยแพทย์ทางมือฯ ชั้น 5อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี การปรับปรุงดังกล่าวแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม พ.ศ.2549
7. การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการเรียนการสอนแพทย์ประจำบ้าน
ราชวิทยาลัยฯดำเนินการในเรื่องการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการเรียนการสอนแพทย์ประจำบ้านออร์โธปิดิกส์โดยราชวิทยาลัยศัลยแพทย์ฯยินยอมให้ราชวิทยาลัยฯเป็นผู้ดูแลการอบรมศัลยศาสตร์ 6 เดือนด้วยตัวเอง และการสอบ Basic Science ของศัลยศาสตร์จะเป็นเพียงทางเลือก ไม่ใช่การสอบที่จำเป็นจะต้องผ่านจึงจะมีสิทธิ์สอบวุฒิบัตรฯอีกต่อไป ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวผ่านการอนุมัติจากแพทยสภาเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2549
8. กองทุนเพื่อการสนับสนุนการเรียนการสอนแพทย์เฉพาะทางในสาขาพิเศษ
ตามที่สาขา Paediatrics, Hand และ Tumor เป็นสาขาที่มีผู้สนใจเรียนเป็นผู้เชี่ยวชาญค่อนข้างน้อยและยากที่จะหาทุนสนับสนุนจากส่วนต่างๆ ราชวิทยาลัยฯร่วมกับมูลนิธิแพทย์ออร์โธปิดิกส์จัดตั้งกองทุนเพื่อการสนับสนุนการเรียนการสอนแพทย์เฉพาะทางในสาขาพิเศษขึ้น เพื่อช่วยในการผลิตแพทย์ทดแทนและให้มีความเพียงพอกับภาวะปัจจุบันและอนาคตต่อไป โดยในปีแรกนี้คณะกรรมการฯพิจารณาให้ทุน 1 ปี แก่แพทย์3 ท่าน ดังนี้
- พญ. ชนิกา อังสนันท์สุข – Pediatric
- นพ. ปัญจพล รุจิธารณวงศ์ – Hand
- นพ. ปฏิเวช งามวิจิตรวงศ์ – Hand
9. โครงการ Visiting Professor 2010 ร่วมกับ AAOS
ริเริ่มโครงการ Visiting Professor ซึ่งได้เริ่มต้นโครงการจริงๆในปี 2010 ทาง AAOS ส่งวิทยากรร่วมโครงการมา 2 ท่าน โดยจะมาพร้อมกันในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ.2010 และจะได้หมุนเวียนไปบรรยายและให้ความรู้แก่สถาบันต่างๆเป็นเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ซึ่งราชวิทยาลัยฯรับผิดชอบค่าเดินทางในประเทศ,ที่พัก และค่ารับรองต่างๆแก่วิทยากรทั้งสองท่าน ส่วนค่าเครื่องบินจากสหรัฐอเมริกา-ประเทศไทยสำหรับวิทยากรทั้ง 2 ท่าน ราชวิทยาลัยฯและ AAOS จะแบ่งความรับผิดชอบกันคนละครึ่ง
10. สมาชิกกิตติมศักดิ์
ในวาระนี้ราชวิทยาลัยฯได้รับรองผู้ทรงคุณวุฒิเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของราชวิทยาลัยฯจำนวน 1 ท่าน ได้แก่ Dr. Rick Delamarter จาก The SpineInstitute, Saint John's Health Center โดยท่านเป็นผู้ทำประโยชน์ให้กับประเทศไทยนานัปการ อีกทั้งได้มาเป็น Guest Speaker ของราชวิทยาลัยฯในการประชุมประจำปี 2551