1. การจัดการประชุมวิชาการประจำปี (Annual Meeting)
การจัดการประชุมวิชาการประจำปีครั้งที่ 25 ประจำปี 2546 ณ โรงแรมรีเจนท์ ชะอำ บีช รีสอร์ทTheme หลักของการประชุมคือ Advances in Upper Extremity Surgery ในวันที่ 22-25 ตุลาคม พ.ศ.2546โดยประธานจัดงานคือนพ.ไพรัช ธุวะเศรษฐกุล เลขาธิการคือนพ.เกียรติ วิฑูรชาติการจัดการประชุมวิชาการประจำปีครั้งที่ 26 ประจำปี 2547 ณ โรงแรมรอยัลคลิฟ บีช รีสอร์ท โดยใน2 วันแรกวันที่ 13-14 ตุลาคม พ.ศ.2547 เป็นการจัดประชุม The 2nd ASEAN-AAOS Instructional Courseส่วนการประชุม the Combined Meeting of the 24th AOA Annual Meeting and the 26th Annual Meeting of The Royal College of Orthopaedic Surgeons of Thailand มี Theme การประชุมคือUpdate in Degenerative Bone and Joint Diseases โดยจัดในวันที่ 15-17 ตุลาคม พ.ศ.2547ประธานจัดงานคือ นพ.วิเชียร เลาหเจริญสมบัติ เลขาธิการคือนพ.บรรจง มไหสวริยะ
2. การจัดตั้งองค์กรร่วมทศวรรษโรคกระดูกและข้อแห่งประเทศไทย (ค.ศ. 2000 - 2010)
Bone and Joint Decade 2000 -2010 ได้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1998 โดย Prof. Lars Lidgrenชาวสวีเดน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของโรคกระดูกและข้อ เนื่องจากสถิติที่พบความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกมีเพิ่มสูงขึ้น ผลก็คือทำให้มีการสูญเสียทางเศรษฐกิจในด้านการรักษาอย่างมหาศาล จึงได้ขอความร่วมมือในการรณรงค์จากมวลมนุษยชาติ โดยมีองค์การอนามัยโลกและองค์การสหประชาชาติ ซึ่งนายโคฟี อันนันเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ลงนามให้การสนับสนุนในการรณรงค์นี้ เมื่อวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 2000ซึ่งในระยะแรกมีรัฐบาล 34 ประเทศให้การสนับสนุน และยังไม่มีการลงนามสนับสนุนจากรัฐบาลไทยดังนั้น นพ.พงษ์ศักดิ์ วัฒนาจึงได้ทำหนังสือขอการสนับสนุนโครงการดังกล่าวไปยังกระทรวงสาธารณสุขโดยนางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ได้ลงนามในเอกสารดังกล่าวไปเมื่อวันที่ 9 ตุลาคมค.ศ. 2001 ซึ่งมีนานาประเทศอย่างน้อย 45 ประเทศให้การสนับสนุนโครงการนี้อยู่ โดยในส่วนของราชวิทยาลัยฯได้มีการจัดกิจกรรมทั้งทางด้านสังคม และวิชาการ เพื่อสนับสนุน Bone and Joint Decade 2000 - 2010มาหลายครั้ง
ในปี พ.ศ.2546 มูลนิธิโรคข้อในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้หารือกับราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย ว่าทั้งหกองค์กร อันประกอบไปด้วย กระทรวงสาธารณสุข, ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย, ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย, มูลนิธิโรคข้อในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และชมรมศัลยแพทย์ทางมือแห่งประเทศไทย น่าจะได้จัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุนโครงการBone and Joint Decade 2000 - 2010 ร่วมกันตลอดทั้งทศวรรษนี้ ดังนั้น ทั้งหกองค์กรจึงได้มีหนังสือขออนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขแต่งตั้ง นพ.ธำรงรัตน์ แก้วกาญจน์เป็น Co-ordinator ของ Bone andJoint Decade – Thailand Chapter ในการประสานงานดำเนินการในกิจกรรมต่างๆกับ Bone and JointDecade 2000 - 2010 ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้อนุมัติตามที่ได้ทำเรื่องแจ้งไป และได้แจ้งให้ Prof. LarsLidgren ประธานคณะกรรมการบริหาร Bone and Joint Decade รับทราบ หลังจากนั้นทั้งหกองค์กรได้มีมติให้เชิญสมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย และสมาคมกีฬาเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย อีกสององค์กรที่มีความสำคัญในการดำเนินการต่างๆเกี่ยวกับเรื่องโรคกระดูกและข้อ เข้าเป็นองค์กรร่วมกับหกองค์กรเดิม เพื่อสนับสนุน
โครงการ Bone and Joint Decade โดยใช้ชื่อ “องค์กรร่วมทศวรรษโรคกระดูกและข้อแห่งประเทศไทย(ค.ศ. 2000-2010)” โดยได้จัดกิจกรรมสำหรับประชาชน ดังนี้
1. กิจกรรมความรู้สู่ประชาชนเรื่องโรคกระดูกและข้อ ในวันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2546 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ รพ.ราชวิถี
2. การเดินรณรงค์วันโรคข้อสากล ในวันเสาร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2546 ณ สวนลุมพินี โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาทรงรับเป็นองค์ประธานในการเดินรณรงค์ครั้งนี้
3. การประชุมวิชาการเรื่อง “ทศวรรษโรคกระดูกและข้อ” ราชวิทยาลัยฯร่วมกับชมรมพยาบาลออร์โธปิดิกส์จัดการประชุมวิชาการเรื่อง “ทศวรรษโรคกระดูกและข้อ” แก่พยาบาลออร์โธปิดิกส์ทั่วประเทศเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2546 ณ ห้องสยามมกุฎราชกุมาร อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี
4. กิจกรรมความรู้สู่ประชาชนเรื่องโรคกระดูกและข้อ ในวันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม 2547ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ รพ.ราชวิถี
5. การให้ความรู้ด้านโรคกระดูกและข้อแก่ประชาชน ในหลายโอกาสทั้งทางวิทยุ และโทรทัศน์ เช่นรายการหมออาสา ทางสถานีวิทยุ จส.100, รายการปัญหาชีวิตและสุขภาพ ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี, รายการบ้านเลขที่ 5ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 และรายการครบเครื่องเรื่องผู้หญิง ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 เป็นต้น
3. โครงการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม โดยเสด็จพระราชกุศลในวโรกาสสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ เจริญพระชนมายุครบ 72 พรรษาในวโรกาสสำคัญแก่ปวงชนชาวไทยคือ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เจริญพระชนมายุครบ72 พรรษา ราชวิทยาลัยฯจึงจัดโครงการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมเพื่อประชาชนทั่วไป เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลโดยได้ดำเนินการในโครงการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมเป็นจำนวน 73 ข้อ ตามพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯการคัดเลือกผู้ป่วยเข้าโครงการจะมีการตั้งคณะกรรมการคัดเลือกผู้ป่วยขึ้นมาดำเนินการเรื่องนี้โดยเฉพาะโดยทำการเลือกผู้ป่วยในความดูแลของกองราชเลขานุการ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ (กรส.) และผู้ป่วยที่แพทย์ออร์โธปิดิกส์เสนอชื่อเข้ามา
4. โครงการ The Programme in Certifying Senior Members of Nepal Orthopaedic Association
ราชวิทยาลัยฯริเริ่มจัดการฝึกอบรมระยะสั้นสำหรับแพทย์จาก Nepal Orthopaedic Associationโดยในครั้งแรกแพทย์จากเนปาล 3 ท่าน ได้แก่ Dr. M.P. Shrivastava, Dr. Saroj Rijal และ Dr. Raghu BanshTripathi ได้เข้ารับอบรมผ่านทาง กองออร์โธปิดิกส์ รพ.พระมงกุฎเกล้า, ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ รพ.รามาธิบดี และภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ฯ รพ.ศิริราช เป็นระยะเวลา 2 เดือน และได้เข้ารับประกาศนียบัตรสำเร็จหลักสูตร เมื่อวันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2546 และในครั้งที่สอง Dr. Sudeep Man Vaiaya Dr. Saju Pradhan
และ Dr. Bhanu Chandra Shah ได้เข้ารับการฝึกอบรมระยะสั้นที่ กองออร์โธปิดิกส์ รพ.ภูมิพล, งานออร์โธปิดิกส์รพ.ตำรวจ และฝ่ายออร์โธปิดิกส์ รพ.ราชวิถี และได้รับประกาศนียบัตรสำเร็จหลักสูตร เมื่อวันศุกร์ที่ 25 มิถุนายนพ.ศ.2547
5. สมาชิกกิตติมศักดิ์
ในวาระนี้ราชวิทยาลัยฯ ได้รับรองผู้ทรงคุณวุฒิเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของราชวิทยาลัยฯจำนวน 3 ท่านได้แก่
1. พญ.วิไล ชินสกุล ประธานราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย ผู้เชี่ยวชาญในด้านสาขาวิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู รพ.พระมงกุฎเกล้า ท่านเป็นผู้ทำประโยชน์ให้กับงานด้านออร์โธปิดิกส์หลายประการโดยเป็นทั้งอาจารย์ และที่ปรึกษาด้านการรักษาพยาบาลผู้ป่วยทางออร์โธปิดิกส์ ของรพ.พระมงกุฎเกล้า
2. Prof. Stephan Marcel Norbert Perren, Senior Scientific Advisor of AO Foundation ท่านเป็นผู้ทำประโยชน์ให้กับราชวิทยาลัยฯ โดยได้รับสมาชิกราชวิทยาลัยฯจำนวนหลายคนเข้าศึกษาดูงานผ่านทาง AO Foundation ทั้งระยะสั้นและระยะยาว
3. Prof. Shoichi Kokubun ประธาน Japanese Orthopaedic Association โดยท่านเป็นผู้ทำประโยชน์ให้กับราชวิทยาลัยฯ โดยได้รับสมาชิกราชวิทยาลัยฯจำนวนหลายคนเข้าศึกษาดูงาน ทั้งระยะสั้นและระยะยาวในประเทศญี่ปุ่น อีกทั้งได้มาเป็น Guest Speaker ของราชวิทยาลัยฯในการประชุมประจำปีหลายครั้ง
6. วิสัยทัศน์ของราชวิทยาลัยฯ
ราชวิทยาลัยฯจัดให้มีการสัมมนาหารือถึงแนวทางการกำหนดวิสัยทัศน์ของราชวิทยาลัยฯเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2547 สรุปผลการสัมมนาเป็นวิสัยทัศน์ในด้านต่างๆได้ดังต่อไปนี้
1. ด้านการฝึกอบรม –“แพทย์ที่จบการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านมีความสามารถในระดับสากล”
2. ด้านการบริการวิชาการเพื่อสมาชิกและสังคม – “บริการทางด้านวิชาการทางออร์โธปิดิกส์ที่ถูกต้องทันต่อเหตุการณ์ และมีผลทางปฏิบัติต่อพฤติกรรมของสังคม”
3. ด้านการวิจัยและนวัตกรรม“ส่งเสริมการวิจัยระดับสหสถาบัน (Multi-Center) และข้อมูลพื้นฐานทางการแพทย์”
4. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ – “ประสานความร่วมมือกับนานาชาติจนเป็นที่ยอมรับ” และ“สนับสนุนและช่วยเหลือหรือเป็นที่พึ่งของประเทศในระดับล่าง”
5. ด้านความสัมพันธ์ในประเทศและการรักษาคุณธรรมและจริยธรรม – “มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกและราชวิทยาลัยฯ” และ “มีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นที่ยอมรับของสังคมและดำรงไว้ซึ่งเกียรติและศักดิ์ศรีของสมาชิกและองค์กร”
จากข้อมูลดังกล่าว ราชวิทยาลัยฯกำหนดวิสัยทัศน์ของราชวิทยาลัยฯ เป็นวลีสั้นๆ กะทัดรัดให้ได้ใจความ ดังนี้ “สรรค์สร้างความรู้ เชิดชูจริยธรรม สัมพันธ์นานาชาติ”