1. การจัดการประชุมวิชาการประจำปี (Annual Meeting)
การจัดการประชุมวิชาการประจำปีครั้งที่ 27 ประจำปี 2548 the 27th Annual Meeting of TheRoyal College of Orthopaedic Surgeons of Thailand มี Theme หลักของการประชุมคือ MinimallyInvasive Surgery in Orthopaedics โดยจัดในวันที่ 19-23 ตุลาคม 2548 โดยประธานจัดงานคือนพ.มนตรี สุวกรเลขาธิการคือนพ.วันชัย ศิริเสรีวรรณการจัดการประชุมวิชาการประจำปีครั้งที่ 28 ประจำปี 2549 The 3rd ASEAN-AAOS InstructionalCourse and the 28th Annual Meeting of The Royal College of Orthopaedic Surgeons of Thailandมี Theme หลักของการประชุมคือ Advances in Arthroplasty and Cartilage Treatment โดยจัดในวันที่20-23 ตุลาคม 2549 โดยประธานจัดงานคือนพ.ประเสริฐ กิจเจริญวิศาล เลขาธิการคือนพ.ธนา ธุระเจน
2. การรื้อฟื้นการจัดการประชุมวิชาการภูมิภาค
ตามที่ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย เคยมีการจัดประชุมวิชาการระยะไกลของราชวิทยาลัยฯ โดยได้เลิกจัดไปในระยะหลังนั้น เนื่องจาก มีสมาชิกส่วนหนึ่งที่จะต้องปฏิบัติงานในส่วนภูมิภาคที่ไม่มีโอกาสเข้าร่วมประชุมประจำปี ดังนั้น เพื่อให้ความรู้แก่สมาชิกดังกล่าว รวมทั้งเป็นการเพิ่มพูนความรู้ที่มีการขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วให้กับมวลสมาชิก จึงจะได้มีการรื้อฟื้นการจัดการประชุมวิชาการภูมิภาคของราชวิทยาลัยฯขึ้นมาทุก 2 ปี อีกครั้งหนึ่ง โดยครั้งแรกภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นเจ้าภาพร่วม ในวันที่ 9-12 กุมภาพันธ์ 2549
3. การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการประชุมของแพทย์ประจำบ้าน
เนื่องจากในแต่ละปีอนุสาขาต่างๆมีการจัดการประชุมหลายครั้ง และเพื่อเป็นการช่วยเหลือแพทย์ประจำบ้านให้ไม่ต้องไปขอการสนับสนุนจากบริษัทเวชภัณฑ์ต่างๆ และไม่ให้ถูกวิจารณ์จากสังคมในทางเสื่อมเสียราชวิทยาลัยฯจึงมีโครงการให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการประชุมของแพทย์ประจำบ้านแต่ละชั้นปีตามจริงเป็นจำนวนไม่เกิน 1,000 บาท/คน/การประชุม 1 อนุสาขา
4. ระบบสารสนเทศ
ราชวิทยาลัยฯได้ทำการปรับปรุงเว็บไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการของมวลสมาชิกไปพอสมควรโดยในเว็บไซต์ http://www.rcost.or.th จะมีการให้ค้นหาวารสารออนไลน์, การออกที่อยู่อีเมล์ในชื่อ @rcost.or.thให้แก่สมาชิกทุกท่าน, การลงทะเบียนราชวิทยาลัยฯออนไลน์ ฯลฯ และนอกจากนี้ ฝ่ายสารสนเทศจะได้ดำเนินการโครงการ Teleconference เพื่อใช้ในงานทั้งด้านบริหาร และวิชาการสำหรับมวลสมาชิกและแพทย์ประจำบ้านต่อไปด้วยอีกโครงการหนึ่งผมได้เข้ามารับตำแหน่งประธานราชวิทยาลัยฯต่อจากอ.ธำรงรัตน์ แก้วกาญจน์ ในระหว่างปี พ.ศ.2547 –2549 โดยได้รับการเลือกตั้งผ่านการโหวตลงคะแนนที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี ซึ่งต่อมาภายหลังได้มีการเปลี่ยนการลงคะแนนมาเป็นทางไปรษณีย์ และมีการแก้ไขกฏระเบียบตามที่ใช้ในปัจจุบันในการเข้ามาบริหารราชวิทยาลัยฯนั้น ทุกท่านคงจะมีความตั้งใจที่ดีในการเข้ามาทำงานด้วยความเสียสละ เพื่อพัฒนาและสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับราชวิทยาลัยฯของเรา ผมเพียงแต่จะให้ความคิดเห็นในการทำงานเพื่อส่วนรวมในแนวคิดของผมและผลงานที่เกิดขึ้นก็เป็นการทำงานรวมกันเป็นทีม คงมิใช่มาจากประธาน แต่เพียงคนเดียว สิ่งที่ผมแสดงความคิดเห็นในช่วงที่ผมดำรงตำแหน่ง อาจจะเปลี่ยนแปลงไปแล้วในปัจจุบัน เพราะระยะเวลาก็ผ่านมานานพอสมควร แต่ต้องการสะท้อนให้เห็นว่าอะไรคือค่านิยม และความถูกต้องในการทำงานเพื่อส่วนรวมนั้น ทุกคนต้องมีความเป็นกลางโดยไม่ยึดติดกับสถาบันของตนเอง ภูมิภาค
หรือสังกัดใดๆ การพิจารณาตัดสินปัญหาต่างๆ จึงจะเป็นไปอย่างยุติธรรมไม่เอนเอียง ไปทางหนึ่งทางใดโดยยึดถือผลประโยชน์ของราชวิทยาลัยฯเป็นที่ตั้ง งานของราชวิทยาลัยฯ นั้น เป็นการเสียสละและอาสาสมัครเข้ามาทำงาน เมื่อท่านได้รับการเลือกตั้งเข้ามาก็ต้องมีความพร้อมที่จะมาร่วมประชุม มิใช่แต่ต้องการมีแต่ชื่อและตำแหน่ง แต่ขาดประชุมเป็นประจำ ได้มีการคุยกันในที่ประชุมถึงการแก้ไขปัญหาการมาประชุมสายหรือไม่มาโดยอ้างถึงการจ่ายเบี้ยประชุม ซึ่งผมคัดค้านว่าไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง เพราะเป็นงานอาสาสมัคร อาจารย์ในอดีตก็ทำกันมาโดยตลอดและไม่ได้ค่าตอบแทนอะไร ผมไม่ทราบว่าปัจจุบันมีการจ่ายเบี้ยประชุมให้กับกรรมการราชวิทยาลัยฯหรือไม่ เพราะไม่ได้ติดตามงานราชวิทยาลัยฯ จะมีงานประจำตามวงรอบ ซึ่งมีอยู่แล้วอย่างชัดเจน และปฏิบัติเป็นประจำทุกปี และจะมีงานที่เป็นระดับนโยบายและการวางแผนกลยุทธ์ที่จะต้องมีการประชุมจากสถาบันต่างๆ และผู้มีความรู้ประสบการณ์ที่จะกำหนดการทำงานอย่างชัดเจน ซึ่งก็ได้มีการดำเนินการมาเป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอผมอยากจะมองไปในอนาคตที่บทบาทของทางราชวิทยาลัยฯอาจจะต้องเปลี่ยนไปในการวางแผนนโยบาย กฏระเบียบต่างๆ ทีนับวันจะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศงานประจำต่างๆ ควรจะเป็นส่วนที่ทางสมาคมออร์โธปิดิกส์ฯซึ่งปัจจุบันไม่มีความสำคัญและบทบาทอะไรเนื่องจากไม่มีบุคคลากรในการทำงาน ควรจะเข้ามาดำเนินงานมากขึ้นผมมีความเชื่อมั่นว่าราชวิทยาลัยฯของเรา จะมีความก้าวหน้ามากขึ้นไปเรื่อยๆ ถ้าสมาชิกทุกคนคำนึงถึงสิทธิและหน้าที่ของการเป็นสมาชิกและมีส่วนร่วม คณะกรรมการทุกคนทุ่มเทความรู้ความสามารถที่มีอยู่ และมีความตั้งใจที่จะพัฒนาราชวิทยาลัยฯของเราให้ทัดเทียมกับประเทศต่างๆ