1. การจัดการประชุมวิชาการประจำปี (Annual Meeting)
การจัดการประชุมวิชาการประจำปีครั้งที่ 31 ประจำปี 2552 The 31st Annual Meeting of TheRoyal College of Orthopaedic Surgeons of Thailand ซึ่งจัดร่วมกับ การประชุม The 6th SICOT AnnualConference โดยจัดในวันที่ 29 ตุลาคม-1 พฤศจิกายน พ.ศ.2552 โดยประธานจัดงานคือนพ.วิเชียร เลาหเจริญสมบัติ เลขาธิการคือนพ.สิทธิพร อรพินท์การจัดการประชุมวิชาการประจำปีครั้งที่ 32 ประจำปี 2553 The 32nd Annual Meeting of TheRoyal College of Orthopaedic Surgeons of Thailand ในวันที่ 22 - 25 ตุลาคม พ.ศ.2553 โดยประธานจัดงานคือนพ.ประกิต เทียนบุญ เลขาธิการคือนพ.ยงศักดิ์ หวังรุ่งทรัพย์
2. การสถาปนา ศ.นพ.เฟื่อง สัตย์สงวน เป็นบิดาของออร์โธปิดิกส์ไทย
ด้วย ศ.นพ.เฟื่อง สัตย์สงวน มีอายุครบรอบ 100 ปี ในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2552 และเพื่อเป็นการแสดงความเคารพ และแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อท่าน ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญของวงการออร์โธปิดิกส์ไทยราชวิทยาลัยฯจึงประกาศเชิดชูยกย่องให้ ศ.นพ.เฟื่อง สัตย์สงวน ขึ้นเป็นบิดาแห่งวงการออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย
3. การให้การสนับสนุนสมาชิกในการเสนอผลงานทางวิชาการ
ราชวิทยาลัยฯริเริ่มอนุมัติเงินสนับสนุนการนำเสนอผลงานทางวิชาการแก่สมาชิกในกรณีมีผลงานไปนำเสนอในระดับนานาชาติ และเงินสนับสนุนผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ (Published Scientific Papers) ในวาระนี้โดยมีสมาชิกให้ความสนใจขอรับการสนับสนุนเป็นจำนวนมาก
4. การทำบุญสำนักงานราชวิทยาลัยฯ
ราชวิทยาลัยฯได้จัดให้มีการทำบุญสำนักงานราชวิทยาลัยฯ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552โดยได้รับเกียรติจากอดีตประธาน อดีตกรรมการบริหาร หัวหน้าสถาบัน ฯลฯ มาร่วมงานอันเป็นสิริมงคลอย่างพร้อมเพรียงกัน
5. การริเริ่มประเพณีรดน้ำดำหัวอาจารย์อาวุโสเนื่องในวันสงกรานต์
ราชวิทยาลัยฯจัดประเพณีรดน้ำดำหัวอาจารย์อาวุโสเนื่องในวันสงกรานต์เป็นครั้งแรก เพื่อเป็นสิริมงคลกับหมู่มวลสมาชิก ซึ่งได้รับความเมตตาจากท่านอาจารย์อาวุโสหลายท่าน อาทิ นพ.วินัย พากเพียร,นพ.ประสิทธิ์ กองเกตุใหญ่, นพ.วิเชียร เลาหเจริญสมบัติ, นพ.วิวัฒน์ สุรางค์ศรีรัฐ, นพ.อรุณวงศ์ เทพชาตรี,นพ.อดิศร ภัทราดูลย์ และนพ.สารเนตร์ ไวคกุล ประธานราชวิทยาลัยฯ ซึ่งทำให้พวกเราหมู่มวลสมาชิกและแพทย์ประจำบ้านได้รับพรในวันปีใหม่ไทย ได้จัดงานในครั้งแรกที่ห้องประชุมของราชวิทยาลัยฯเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ.2552
6. ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างราชวิทยาลัยฯ กับ AAOS
AAOS ส่ง visiting professor มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้ร่วมกันกับสมาชิกของราชวิทยาลัยฯเป็นครั้งแรกในปี 2010 โดยในครั้งแรก theme ของ visiting professor program คือ “Upper extremitytrauma” ตัวแทนของ AAOS ที่มาเยือนประเทศไทย ได้แก่ Prof. Jesse Jupiter และ Prof. Lee Ostermanซึ่งทั้ง 2 ท่านก็เป็น author ในหนังสือ Operative Hand Surgery
7. การจัดประชุม CAOS Asia และการประชุมราชวิทยาลัยฯส่วนภูมิภาค
ราชวิทยาลัยฯจะจัดการประชุมดังกล่าวร่วมกับการประชุมส่วนภูมิภาคของราชวิทยาลัยฯ ในวันที่28-30 เมษายน พ.ศ.2553 ณ โรงแรมโซฟิเทล โพคีธรา กระบี่ โดยมีภาควิชาออร์โธปิดิกส์ ม.สงขลา เป็นเจ้าภาพร่วมกับราชวิทยาลัยฯ
8. โครงการสัมมนาเจ้าหน้าที่ธุรการของสถาบันฝึกอบรมฯและราชวิทยาลัยฯ
ตามที่งานของราชวิทยาลัยฯและสถาบันมีการขยายตัวมากขึ้นต้องมีการประสานงานทั้งระหว่างสถาบันกันเองและการติดต่อกับราชวิทยาลัยฯ ดังนั้น เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีอันจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและทักษะในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย รวมถึงข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการเยี่ยมเยียนสถาบันฯต่างๆ ราชวิทยาลัยฯจึงได้จัดให้มีการจัดอบรมสัมมนาเจ้าหน้าที่ธุรการของสถาบันฝึกอบรมฯและราชวิทยาลัยฯ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2552 ณ ที่ทำการราชวิทยาลัยฯ โดยได้รับเกียรติจากนพ.สารเนตร์ไวคกุล, นพ.วิเชียร เลาหเจริญสมบัติ, นพ.พลวรรธน์ วิทูรกลชิต, คุณนิสากร เตียวิรัตน์ เลขานุการศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านออร์โธปิดิกส์ รพ.เลิดสิน และคุณศิริวรรณ ศรประสิทธิ์ เลขานุการภาควิชาออร์โธปิดิกส์ ม.สงขลาร่วมเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนา
9. โครงการการจัดปฐมนิเทศแพทย์ประจำบ้านปีที่ 1 ของทุกสถาบัน
ราชวิทยาลัยฯมอบหมายนพ.วัลลภ สำราญเวทย์ ให้ดำเนินโครงการจัดปฐมนิเทศแพทย์ประจำบ้านปีที่ 1ของทุกสถาบัน เมื่อวันที่ 24 – 26 มิถุนายน พ.ศ.2552 ณ ห้องประชุมสัมมนา 4 – 6 อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปีเพื่อให้แพทย์ประจำบ้านแต่ละสถาบันได้ทำความรู้จักคุ้นเคยกัน และให้เกิดความร่วมมือและความสามัคคีในการปฏิบัติงานร่วมกันในอนาคต รวมถึงแนะนำให้เข้าใจในหลักสูตรใหม่และรู้ถึงกิจกรรมต่างๆของราชวิทยาลัยฯมีการจัดเนื้อหาด้านจริยธรรม เพื่อเริ่มต้นสอนให้ทุกคนเป็นแพทย์ที่ดีต่อไปในอนาคต
10. การขอความร่วมมือในการใช้ FRCOST ในชื่อของสมาชิกราชวิทยาลัยฯในผลงานวิชาการต่างๆ
ราชวิทยาลัยฯเชิญชวนให้สมาชิกทุกท่านร่วมกันยกระดับความเป็นสมาชิกราชวิทยาลัยฯเข้าสู่ระดับสากล โดยการใช้ FRCOST ในชื่อสมาชิกในผลงานต่างๆ ทั้งการมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารต่างๆ, การเป็นวิทยากร,Free Paper Presentation และ Poster Presentation ในการประชุมวิชาการ ฯลฯ โดยสมาชิกราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ฯทุกท่านต่างมีศักดิ์และสิทธิ์ในการใช้ชื่อย่อดังกล่าว อันจะเป็นการประกาศถึงความเป็นปึกแผ่นความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว และความสามัคคีของราชวิทยาลัยฯ
11. ความร่วมมือกับ Myanmar Orthopaedic Society
Myanmar Orthopaedic Society ขอความร่วมมือจากราชวิทยาลัยฯในการให้การสนับสนุนในการจัดShort Course Training แก่แพทย์จากพม่า เป็นประจำทุกปีเป็นระยะเวลา 1-3 เดือนให้ด้วย ซึ่งราชวิทยาลัยฯได้มีพิธีการลงนามให้ความร่วมมือกับตัวแทนจากสมาคมออร์โธปิดิกส์สหภาพพม่าในระหว่างการประชุมวิชาการปี 2552 ด้วย
12. สมาชิกกิตติมศักดิ์
ราชวิทยาลัยฯได้รับรองผู้ทรงคุณวุฒิเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของราชวิทยาลัยฯจำนวน 1 ท่าน ได้แก่
Dr. Jesse Jupiter จาก Massachusetts General Hospital โดยท่านเป็นผู้ทำประโยชน์ให้กับประเทศไทย
นานัปการ อีกทั้งได้มาเป็น Guest Speaker ของราชวิทยาลัยฯในการประชุมประจำปี 2553 และ Visiting
Professor
13. กิจกรรมของราชวิทยาลัยฯในวาระครบรอบ 100 ปี สวรรคต ร. 5
ตามที่ในปี 2553 รัฐบาลได้พิจารณาเห็นชอบให้มีการจัดโครงการกิจกรรมน้อมรำลึก 100 ปี วันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและประกาศให้มีการจัดงานดังกล่าวเป็นวาระแห่งชาติ ด้วยน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณราชวิทยาลัยฯจึงพิจารณาดำเนินการกิจกรรมเพื่อร่วมรำลึกถึงพระองค์ท่าน โดยได้พิจารณามอบเงินสนับสนุนการซ่อมแซมรร.บ้านชากยายจีนจ.ชลบุรี ซึ่งคณะกรรมการได้ส่งตัวแทนไปสำรวจสภาพแวดล้อมในโรงเรียนมาให้ที่ประชุมพิจารณา โดยสภาพโดยรวมของโรงเรียนดูค่อนข้างจะทรุดโทรมเป็นอย่างมาก ราชวิทยาลัยฯจึงได้พิจารณามอบเงินซ่อมแซมเป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท โดยได้มีพิธีส่งมอบเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2553 เวลา 9.00 น. ณ รร.บ้านชากยายจีนจ.ชลบุรี
14. การสัมมนาเพื่อวางแผนปฏิบัติการประจำปี 2553
ราชวิทยาลัยฯได้จัดการสัมมนาเพื่อวางแผนปฏิบัติการประจำปี 2553 ณ ห้องประชุมราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย ในวันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ.2553 เวลา 9.00 – 16.00 น. โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบไปด้วยกรรมการบริหารราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย, หัวหน้าภาควิชาออร์โธปิดิกส์จากคณะแพทยศาสตร์ต่างๆ และหัวหน้ากลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ของโรงพยาบาลต่างๆ ได้เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น และกำหนดทิศทางในการบริหารงานของราชวิทยาลัยฯ และเพื่อให้ราชวิทยาลัยฯรับทราบความต้องการและปัญหาของสมาชิก ซึ่งเป็นประโยชน์ในการวางแผนปฏิบัติการของราชวิทยาลัยฯในระยะปานกลางและระยะยาว โดยมีแผนงานที่ได้รับการเสนอจากที่ประชุม สรุปในเบื้องต้นได้ดังนี้
- การให้ความรู้ในเรื่อง DRG
- การพัฒนาการสื่อสารระหว่างสมาชิกฯและราชวิทยาลัยฯ
- แนวทางการกระจายสัดส่วนการเลือกตั้งผู้บริหารราชวิทยาลัยฯให้มาจากตัวแทนจากทุกภาคส่วน
- การให้ความช่วยเหลือในเรื่องการปรับตำแหน่งของกระทรวงสาธารณสุข
- การพิจารณาความคุ้มค่าและประสิทธิภาพของการใช้ยาทางออร์โธปิดิกส์
- กิจกรรมช่วยเหลือสังคมในด้านต่างๆ
15. การจัดทำ CPG ในการรักษาโรคกระดูกพรุนและโรคข้อเข่าเสื่อม
จากปัญหาการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลมีมูลค่าเพิ่มขึ้น มีการสั่งจ่ายยาโดยไม่มีหลักฐานข้อบ่งชี้ ตลอดจนการขาดจริยธรรมในการสั่งยา โดยมีกลุ่มยาที่มีปัญหาในการเบิกจ่าย 9 อันดับ เป็นยาที่เกี่ยวข้องกับแพทย์ออร์โธปิดิกส์ ซึ่งคณะกรรมการอาหารและยา กรมบัญชีกลาง และสปสช. เห็นพ้องกันให้ราชวิทยาลัยฯช่วยเหลือในการจัดทำ CPG ของยาที่ถูกเพ่งเล็ง 4 กลุ่ม ดังนี้
- PPI
- Disease Modifying Agents in OA
- COXIB
- ยารักษาโรคกระดูกพรุน
ราชวิทยาลัยฯจึงได้จัดตั้งคณะทำงานนำโดยนพ.วีระชัย โควสุวรรณ เป็นประธานคณะกรรมการฯเพื่อจัดทำร่าง CPG ในการรักษาโรคกระดูกพรุนและโรคข้อเข่าเสื่อมขึ้น ซึ่งได้นำรายละเอียดลงเว็บไซต์ราชวิทยาลัยฯด้วย
16. การประสานความร่วมมือกับ Bone and Joint Decade
ด้วย Bone and Joint Decade จะขยายเวลาในการดำเนินโครงการไปอีก 10 ปี คือตั้งแต่ปี 2010-2020โดยงานหลักจะเป็นการให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องเกี่ยวกับกระดูกและข้อ และเพื่อให้การดำเนินการในกิจกรรมดังกล่าวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ราชวิทยาลัยฯได้เสนอให้นพ.ธำรงรัตน์ แก้วกาญจน์ เป็นตัวแทนBone and Joint Decade ประเทศไทยต่อไปอีกสมัย
17. การจัดประชุมกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRG) สำหรับแพทย์ออร์โธปิดิกส์
จากการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยในจากหน่วยงานต้นสังกัดในปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็นระบบการจ่ายตาม DRG (Diagnosis Related Group) ซึ่งแพทย์มีส่วนที่จะต้องเกี่ยวข้องทั้งในการสรุปเวชระเบียนการใส่รหัสโรค รหัสหัตถการ ให้ครบถ้วนถูกต้อง เพื่อให้โรงพยาบาลสามารถเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายได้ตามความเป็นจริงมากที่สุด ความรู้เกี่ยวกับ DRG การลงรหัส การสรุปเวชระเบียน จึงมีความสำคัญสำหรับแพทย์ออร์โธปิดิกส์ในการที่จะช่วยให้สามารถดำเนินการในเรื่องนี้ได้อย่างถูกต้อง ราชวิทยาลัยฯจึงได้จัดการประชุมดังกล่าวเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2553 เวลา 8.00 – 16.00 น. ณ ห้องประชุมของราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์โดยเชิญหัวหน้ากลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ จากรพ.ทั่วประเทศ แพทย์ออร์โธปิดิกส์ และบุคลากรที่สนใจมาร่วมประชุมซึ่งมีผู้มาร่วมประชุมทั้งสิ้นประมาณ 70 คน
18. การจัดงานต้อนรับสมาชิกใหม่
ราชวิทยาลัยฯได้จัดงานต้อนรับสมาชิกใหม่ ณ ห้องประชุมศิษย์เก่า ศิริราชพยาบาล เมื่อวันที่ 28มิถุนายน พ.ศ.2553 มีอาจารย์ผู้ใหญ่ให้เกียรติเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก โดยมีสมาชิกใหม่เข้าร่วมงานจำนวน79 คน จากแพทย์ประจำบ้านที่เข้าสอบทั้งหมด 82 คน โดยมีผู้ยื่นใบสมัครเป็นสมาชิกใหม่โดยสมัครใจถึง 80 คนเมื่อพิจารณาถึงการตอบรับที่ดียิ่งในการจัดงานทั้งสองปีที่ผ่านมา ราชวิทยาลัยฯจึงพิจารณาจัดงานดังกล่าวต่อไปเพื่อจะได้เป็นการเสริมสร้างความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกและราชวิทยาลัยฯในอีกทางหนึ่ง
19. การลงนามประสานความร่วมมือกับสมาคมออร์โธปิดิกส์นานาชาติ
ตามที่ทางราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทยและสมาคมออร์โธปิดิกส์นานาชาติต่างๆได้มีการร่วมมือทางวิชาการกันมาเป็นเวลานานแล้วนั้น ราชวิทยาลัยฯได้เล็งเห็นว่าการร่วมมือกันดังกล่าวได้ช่วยยกระดับวงการออร์โธปิดิกส์ให้มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ราชวิทยาลัยฯจึงมีดำริที่จะสนับสนุนและส่งเสริมความสัมพันธ์โดยตรงระดับสถาบันฝึกอบรมในประเทศต่อสถาบันฝึกอบรมในต่างประเทศ เพื่อเพิ่มโอกาสในการติดต่อกันระหว่างสถาบันฝึกอบรมของแต่ละประเทศ และยกระดับความสัมพันธ์ในด้านวิชาการและความสัมพันธ์ในระดับประเทศให้เข้มแข็งขึ้น จึงได้จัดการร่วมลงนามระหว่างประสานความร่วมมือระหว่างสถาบันออร์โธปิดิกส์ของไทยกับสมาคมออร์โธปิดิกส์นานาชาติ ซึ่งประกอบไปด้วยสถาบันฝึกอบรมจากประเทศฮังการี และประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2553ณ ห้องพัทยา 3 ศูนย์การประชุม PEACH โรงแรมรอยัลคลิฟบีช รีสอร์ท พัทยา