1. การจัดการประชุมวิชาการ
ครั้งที่ 23 ประจำปี 2544 ณ โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท พัทยา Theme หลักของการประชุมเป็นเรื่อง Orthopaedics for the New Millennium ระหว่างวันที่ 20-23 ตุลาคม พ.ศ.2544 ประธานจัดงาน
คือ นพ.สารเนตร์ ไวคกุล เลขาธิการ คือ นพ.สุรินทร์ ธนพิพัฒนศิริ
ครั้งที่ 24 ประจำปี 2545 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน พัทยา Theme หลักของการประชุมเป็นเรื่อง Advance in Trauma Management จัดระหว่างวันที่ 20-22 ตุลาคม พ.ศ.2545 ประธานจัดงาน คือนพ.สุทร บวรรัตนเวช เลขาธิการ คือ นพ.อำนวย จิระสิริกุล
2. การกำหนดเกณฑ์การประเมินสถาบันฝึกอบรมฯ
ราชวิทยาลัยฯได้แต่งตั้งและมอบหมายให้คณะอนุกรรมการประเมินสถาบันฝึกอบรมฯอันมีนพ.สุปรีชาโมกขะเวส เป็นประธานฯ ดำเนินการกำหนดเกณฑ์การประเมินสถาบันฝึกอบรมฯ พร้อมทั้งแจ้งถึงหลักเกณฑ์ดังกล่าวให้สถาบันฯต่างๆทราบ โดยการประเมินสถาบันฯในครั้งแรกนี้กระทำการเสร็จสิ้นทั้งหมดในปี พศ. 2545สำหรับสถาบันฯแรกที่คณะอนุกรรมการฯได้ไปทำการตรวจเยี่ยม ได้แก่ ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ฯมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
3. โครงการความรู้สู่ประชาชน
ราชวิทยาลัยฯดำเนินการจัดกิจกรรมความรู้สู่ประชาชนครั้งที่ 1 ในโครงการอายุยืนแข็งแรงเรื่อง“ข้อเสื่อม” เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2544 ณ ห้องสยามมกุฎราชกุมาร อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี โดยมีการจัดกิจกรรมความรู้สู่ประชาชนครั้งที่ 2 ในเรื่อง “กินอยู่อย่างไรต้านภัยกระดูกพรุน” ในวันที่ 15-21 พฤศจิกายนพ.ศ.2544 ณ MCC Hall เดอะมอลล์ บางกะปิ
4. มูลนิธิแพทย์ออร์โธปิดิกส์
เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2544 ราชวิทยาลัยฯได้เปิดแถลงข่าวโครงการจัดตั้งมูลนิธิแพทย์ออร์โธปิดิกส์ขึ้นณ ห้องสัมมนา 1 อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี โดยการจัดตั้งมูลนิธิฯมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. ส่งเสริมการศึกษา ค้นคว้าวิจัยทางด้านออร์โธปิดิกส์
2. ส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันโรคทางออร์โธปิดิกส์
3. เพื่อร่วมมือกับองค์การสาธารณกุศลอื่นๆทั้งในและนอกประเทศ เพื่อสาธารณประโยชน์
4. ไม่ดำเนินการเกี่ยวกับการเมืองแต่ประการใดราชวิทยาลัยฯ ได้รับบริจาคเงินจากผู้มีจิตศรัทธา เพื่อมาใช้เป็นเงินทุนในการก่อตั้งมูลนิธิจาก
- บริษัท ดีทแฮล์ม จำกัด แผนก Rotta จำนวน 50,000 บาท
- บริษัท ดีทแฮล์ม จำกัด แผนกไบโอแนค จำนวน 50,000 บาท
- บริษัท บี.เอ็ล.เอช. เทร็ดดิ้ง จำกัด จำนวน 50,000 บาท
ในวันที่ 26 กันยายน 2544 มีการนัดประชุมหารือกันระหว่างอาจารย์ผู้ใหญ่หลายท่าน ถึงการก่อตั้งมูลนิธิฯและเพื่อให้การดำเนินการจัดตั้งมูลนิธิฯเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ ราชวิทยาลัยฯจึงได้มีหนังสือเชิญท่านผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านมาร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินการก่อตั้งมูลนิธิ ดังมีรายนามปรากฎต่อไปนี้
1. นพ.ชายธวัช งามอุโฆษ ประธาน
2. นพ.ธำรงรัตน์ แก้วกาญจน์ กรรมการ
3. นพ.สุปรีชา โมกขะเวส กรรมการ
ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย 137
4. นพ.เจริญ โชติกวณิชย์ กรรมการ
5. นพ.พงษ์ศักดิ์ วัฒนา กรรมการ
6. นพ.วินัย พากเพียร กรรมการ
7. นพ.ประสิทธิ์ กองเกตุใหญ่ กรรมการ
8. นพ.วิชัย วนดุรงค์วรรณ กรรมการ
9. นพ.พรชัย ตั้งสำเริงวงศ์ กรรมการ
10. นพ.อดิศร ภัทราดูลย์ กรรมการและเลขานุการ
5. เว็บไซต์ราชวิทยาลัยฯ
ราชวิทยาลัยฯได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลง Homepage ของราชวิทยาลัยฯจากเดิมที่มีชื่อที่จดจำได้ยากมาเป็น http://www.rcost.or.th ซึ่งเป็น URL ที่ใช้มาจนถึงในปัจจุบัน
6. สมาชิกกิตติมศักดิ์
ในวาระนี้ราชวิทยาลัยฯได้รับรองผู้ทรงคุณวุฒิเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของราชวิทยาลัยฯจำนวน 3 ท่าน ได้แก่
1. Prof. Peter Matter ท่านเป็นผู้ที่ทำประโยชน์ให้กับวงการแพทย์ออร์โธปิดิกส์ไทยเป็นอย่างมาก โดยได้ส่งเสริมและสนับสนุนทุนแก่แพทย์ออร์โธปิดิกส์ไทยไปดูงานด้วยทุนของ AOFoundation และ AO International จนกระทั่งปัจจุบัน มีแพทย์ออร์โธปิดิกส์ผ่านการดูงานในต่างประเทศถึง 70 คน
2. Prof. J. Richard Bowen ผู้เชี่ยวชาญในด้านสาขาวิชาPediatric Orthopaedics ท่านเป็นผู้ทำประโยชน์ให้กับราชวิทยาลัยฯโดยได้รับสมาชิกราชวิทยาลัยฯจำนวนหลายคนเข้าศึกษาดูงาน ณDepartment of Orthopaedics, Alfred I. Dupont Institute, Delaware, USA ทั้งระยะสั้นและระยะยาวอีกทั้งได้มาเป็น Guest Speaker ของราชวิทยาลัยฯในปี 1996
3. Prof. Henri Bensahel ผู้เชี่ยวชาญในด้านสาขาวิชา Pediatric Orthopaedics ท่านเป็นผู้ทำประโยชน์ให้กับราชวิทยาลัยฯ โดยได้รับสมาชิกราชวิทยาลัยฯจำนวนหลานคนเข้าศึกษาดูงาน ทั้งระยะสั้นและระยะยาว อีกทั้งได้มาเป็น Guest Speaker ของราชวิทยาลัยฯในปี 1999
7. การประชุม First Asian Regional IOF Conference on Osteoporosis
IOF (International Osteoporosis Foundation) ขอให้ราชวิทยาลัยฯเป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดการประชุม First Asian Regional IOF Conference on Osteoporosis สำหรับประเทศในภาคพื้นเอเซีย เพื่อให้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาของ Osteoporosis ทั้งในแง่พยาธิสภาพ, การป้องกัน, การตรวจวินิจฉัย, การรักษาโดยวิธีการต่างๆ ซึ่งราชวิทยาลัยฯจัดการประชุมฯระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม พ.ศ.2545ณ โรงแรม Sofitel Central Plaza โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมชาวไทย และแถบเอเซียแปซิฟิคให้ความสนใจเข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนมาก หลังจากการประชุม ราชวิทยาลัยฯตระหนักดีถึงภัยของโรคกระดูกพรุน จึงได้ร่วมมือกับอาจารย์แพทย์อาวุโสในสาขาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ Osteoporosis ก่อตั้งมูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่ง
ประเทศไทยในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์(Thai Osteoporosis Foundation (TOPF) ขึ้น โดยได้ทำการจดทะเบียนเป็นองค์กรนิติบุคคลที่ไม่หวังกำไรและทำกิจกรรมการกุศล ถือเป็นองค์กรระดับชาติที่มุ่งหวังเพื่อช่วยผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกพรุนหรือเสี่ยงต่อภาวะโรคกระดูกพรุน โดยมูลนิธิฯ ได้ทำงานด้านการศึกษา การสนับสนุนส่งเสริมบุคคลและชุมชนให้ตระหนักถึงการป้องกันและรักษาภาวะโรคกระดูกพรุนตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
8. First ASEAN AAOS Instructional Course
ราชวิทยาลัยฯได้รับเกียรติจากทาง ASEAN Orthopaedic Association (AOA) และ AmericanAcademy of Orthopaedic Surgeons (AAOS) ให้เป็นตัวแทนของประเทศกลุ่มสมาชิกของ AOA จัดการประชุม First ASEAN AAOS Instructional Course ขึ้น ที่ห้องสยามมกุฎราชกุมาร อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปีในวันที่ 18-19 ตุลาคม พ.ศ.2545 ในหัวข้อ Update for Management of Shoulder Problems โดยทางAmerican Academy of Orthopaedic Surgeons (AAOS) ส่งวิทยากรที่มีชื่อเสียง 4 ท่าน มาให้การบรรยายทั้งหมด 16 เรื่อง
9. การจัดทำ Interhospital Orthopaedic Conference ผ่านสื่อ Teleconference
คณะกรรมการบริหารราชวิทยาลัยฯมีนโยบายถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการที่ทางราชวิทยาลัยฯจัดขึ้น มีการเผยแพร่ไปยังสถาบันฝึกอบรมให้ทั่วถึงทุกสถาบัน โดยเฉพาะสถาบันที่อยู่ต่างจังหวัด 3 แห่ง คือ ขอนแก่นสงขลา และเชียงใหม่ ก่อนหน้านี้ราชวิทยาลัยฯพยายามส่ง Teleconference ทางเครือข่ายกระทรวงสาธารณสุขแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ เพราะห้องรับส่งสัญญาของเครือข่ายนี้ ต้องไปรับที่โรงพยาบาลกระทรวง ทำให้แพทย์ประจำบ้านและอาจารย์ไม่สะดวกในการเดินทางจากมหาวิทยาลัย ราชวิทยาลัยฯจึงเปลี่ยนแผนการถ่ายทอดสัญญาณโดยส่งผ่านเครือข่ายของทบวงมหาวิทยาลัยแทน ผ่านเครือข่ายแม่ที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปยังลูกข่ายที่มหาวิทยาลัยสงขลา ขอนแก่น และเชียงใหม่ โดยได้ริเริ่มทำเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2545
ซึ่งราชวิทยาลัยฯ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
10. การพัฒนาการทำวารสารออร์โธปิดิกส์เป็นแบบElectronic
กองบรรณาธิการวารสารออร์โธปิดิกส์มีการพัฒนาการจัดทำวารสารออร์โธปิดิกส์เป็นรูปแบบ Electronic ซึ่งเป็นระบบนี้ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งเป็นแบบวารสาร และตำรา เพื่อให้สมาชิกเปิดอ่านออนไลน์ และสามารถลดงบประมาณในการจัดทำวารสารลงได้