1. การจัดการประชุมวิชาการประจำปี (Annual Meeting)
การจัดการประชุมวิชาการประจำปีครั้งที่ 33 ประจำปี 2554 The 33rd Annual Meeting of TheRoyal College of Orthopaedic Surgeons of Thailand ในวันที่ 21 - 24 ตุลาคม พ.ศ.2554 โดยประธานจัดงานคือนพ.ดุษฎี ทัตตานนท์ และเลขาธิการคือนพ.ธไนนิธย์ โชตนภูติ
การจัดการประชุมวิชาการประจำปีครั้งที่ 34 ประจำปี 2555 The 34th Annual Meeting of TheRoyal College of Orthopaedic Surgeons of Thailand ในวันที่ 20 - 22 ตุลาคม พ.ศ.2555 โดยประธานจัดงานคือนพ.สุกิจ หาญพานิชกิจการ, รองประธานคือนพ.ไพศาล อภิมนต์บุตร และเลขาธิการคือนพ.สุรพจน์ เมฆนาวิน
2. การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม APOA 2014 และการทำงานร่วมกับ APOA
APOA ได้ตัดสินให้ราชวิทยาลัยฯเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม APOA 2014 และได้แต่งตั้งนพ.เจริญ โชติกวณิชย์เป็นประธานรับเลือกของ APOA ซึ่งจะขึ้นดำรงตำแหน่งประธาน APOA ในปี 2012-2014 พร้อมกับได้เลือกนพ.สารเนตร์ ไวคกุลขึ้นดำรงตำแหน่ง Honorary Secretary ของ APOA ในวาระปี 2010-2012 นี้ด้วย
3. ระบบ Web Conference ผ่านเว็บ V-Cube
เพื่อเป็นการสนับสนุนให้สถาบันในต่างจังหวัด สามารถร่วมกิจกรรมทางวิชาการพร้อมกับสถาบันในกรุงเทพฯ จึงจัดทำการประชุมผ่านระบบ Web Conference ของ V-Cube ไปยังสถาบันในต่างจังหวัดในทุกวันพฤหัสบดีที่มีกิจกรรม Interhospital Grand Round ซึ่งระบบดังกล่าวสามารถทำการบันทึกและนำขึ้นเว็บไซต์ราชวิทยาลัยฯไว้ศึกษาในภายหลังได้อีกด้วย
4. การบริการหา Full Text Paper
เพื่อเป็นการสนับสนุนทางด้านวิชาการให้กับสมาชิก ราชวิทยาลัยฯได้จัดการบริการช่วยหา Full Text Paper สำหรับสมาชิกที่ต้องการความช่วยเหลือ ภายใน 3 วันทำการ ในกรณีที่ Paper นั้นมีอยู่ในฐานข้อมูลของราชวิทยาลัยฯ แต่ถ้าไม่มีเรายินดีหา source ให้ โดยอาจจะมีค่าใช้จ่ายบางส่วน สมาชิกที่สนใจ สามารถแจ้งความจำนงถึง Paper ที่ท่านต้องการมายัง This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. ได้
5. การให้ความช่วยเหลือสมาชิกจากเหตุการณ์อุทกภัย
จากเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในปี 2554 ราชวิทยาลัยฯเชิญสมาชิกร่วมบริจาคเงินช่วยเหลือเพื่อนสมาชิกผู้ประสบภัยจากอุทกภัย ในบัญชีออมทรัพย์ “กองทุนเพื่อนช่วยเพื่อน” โดยราชวิทยาลัยฯได้ทำการช่วยเหลือสมาชิกราชวิทยาลัยฯผู้ยื่นเอกสารตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 43 คน รายละ 10,000 บาท รวมเป็นเงินช่วยเหลือทั้งสิ้น 430,000 บาท
6. กิจกรรม “สานสัมพันธ์สมาชิก”
ได้ริเริ่มไปเยี่ยมเยียนสมาชิกฯในภูมิภาคต่างๆ โดยครั้งแรกได้ไปเยี่ยมเยียนสมาชิกฯในรพ.ยะลารพ.ปัตตานี และรพ.หาดใหญ่ เมื่อวันที่ 23-24 มีนาคม พ.ศ.2554 ครั้งที่ 2 ได้ไปเยี่ยมเยียนสมาชิกฯในรพ.อุตรดิตถ์ รพ.แพร่ และรพ.น่าน เมื่อวันที่ 23-24 มิถุนายน พ.ศ.2554 และครั้งที่ 3 รพ.นครพนม และรพ.มุกดาหาร เมื่อวันที่ 29-30 มีนาคม พ.ศ.2555
7. การสัมมนาเพื่อวางแผนกลยุทธ์ประจำปี 2554-2555
จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 ณ ที่ทำการราชวิทยาลัยฯ เพื่อเปิดโอกาสให้หัวหน้ากลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ทั่วประเทศ หัวหน้าสถาบันฝึกอบรม ประธานชมรมออร์โธปิดิกส์ในแต่ละส่วนภูมิภาค อดีตประธานราชวิทยาลัยฯ และสมาชิกอาวุโส ได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและกำหนดแผนกลยุทธ์ในการบริหารงาน ซึ่งจะทำให้การบริหารงานสอดคล้องกับความต้องการของสมาชิก อีกทั้งยังเพื่อสนับสนุนให้สมาชิกรุ่นใหม่ ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม และเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกรรมการบริหาร และสมาชิกอีกด้วย โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบไปด้วยประธาน รองประธาน กรรมการบริหารราชวิทยาลัยฯและที่ปรึกษา หัวหน้าภาควิชาออร์โธปิดิกส์จากคณะแพทยศาสตร์ทั่วประเทศ หัวหน้ากลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ของโรงพยาบาลทั่วประเทศ และสมาชิกอาวุโสจากการสัมมนาฯสามารถสรุปประเด็นที่จะต้องพิจารณาดำเนินการต่อไป ดังนี้
1. หลักสูตรการสอนแพทย์ประจำบ้าน จะมีการการพัฒนาหลักสูตร Fellowship กำหนด minimal /core competency ของหลักสูตร การพัฒนาระบบ teleconference ให้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น และเพิ่มการสอบรายยาวในการประเมินผลเพื่อการสอบวุฒิบัตรฯ
2. ด้านวิชาการและการทำวิจัยของสมาชิก จะมีการพัฒนาคุณภาพงานวิจัย/วิชาการของสมาชิกสายสาธารณสุขให้ดียิ่งขึ้น และจะมีการตั้งกลุ่มศึกษาวิจัยปัญหาทางออร์โธฯซึ่งเป็น CSR ของประเทศ (MultiCenters) รวมถึงการวางแผนจัดกิจกรรมของอนุสาขาราย 2 ปี อีกด้วย
3. กิจกรรมสมาชิกสัมพันธ์ ทั้งระหว่างสมาชิก-สมาชิก และระหว่างสมาชิก-ราชวิทยาลัยฯ จะมีพัฒนาระบบสารนิเทศให้สมาชิกเข้าถึงได้ง่าย และดำเนินการเยี่ยมสมาชิกในภูมิภาคทั่วประเทศต่อไป
4. มาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรม จะดูแลมาตรฐานการรักษา (under and over treatment)รวมถึงคดีจริยธรรมและการฟ้องร้อง และ Industrial drive and conflict of interest ต่างๆ
8. โครงการ AAOS-RCOST educational program 2012
AAOS-RCOST educational program 2012 จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 15-23 ตุลาคม พ.ศ.2555ซึ่งในปีนี้ Dr. Mark Lazarus และ Dr. Carleton Thomas Vangsness, Jr. ได้ให้เกียรติมาร่วมโครงการสอนบรรยาย และผ่าตัด รวมถึงร่วมเป็นวิทยากรในการประชุมวิชาการประจำปีอีกด้วย
9. การจัดคูหาแสดงนิทรรศการในการประชุมวิชาการประจำปี 2555 ของ APOA ที่ประเทศอินเดีย
ราชวิทยาลัยฯได้รับเกียรติจาก APOA ในการให้พื้นที่จัดคูหาแสดงนิทรรศการในการประชุม APOAMeeting 2012 เมื่อวันที่ 3-5 ตุลาคม พ.ศ.2555 ณ กรุงนิวเดลลี ประเทศอินเดีย เพื่อประชาสัมพันธ์การประชุมAPOA 2014 ที่ราชวิทยาลัยฯจะเป็นเจ้าภาพจัดงาน โดยข้อมูลที่นำไปแสดงเป็นในรูปแบบโปสเตอร์ แผ่นพับประชาสัมพันธ์การประชุม และการท่องเที่ยว รวมถึงพวงกุญแจที่ระลึก ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนมาก
10. การจัดตั้ง Society ของอนุสาขาต่างๆ
ด้วยปัจจุบันอนุสาขาต่างๆต่างก็มีกิจกรรมของกลุ่มเพิ่มมากขึ้น รวมถึงกิจการที่จะต้องติดต่อกับต่างประเทศ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องยกระดับอนุสาขาเป็นองค์กรระดับ Society เพื่อความสะดวกในการติดต่องาน ราชวิทยาลัยฯจึงอนุมัติให้อนุสาขาสามารถจัดตั้ง Society ได้ โดยการทำงานของ Society หรืออนุสาขาจะต้องเป็นคณะทำงานชุดเดียวกัน และอยู่ภายใต้การดูแลของราชวิทยาลัยฯ โดยนพ.บรรจงฯรองฯวิชาการในขณะนั้นได้ตั้งข้อกำหนดเงื่อนไขและกฎเกณฑ์การจัดตั้งให้เป็นรูปแบบเดียวกันในทุกอนุสาขาในเริ่มแรกมีอนุสาขาจัดตั้ง Society ขึ้นมาแล้ว 3 อนุสาขา ได้แก่
- อนุสาขา Hip and Knee – Thai Hip and Knee Society
- อนุสาขา Spine - Spine Society of Thailand
- อนุสาขา Sports Medicine - Thai Orthopaedic Society for Sports Medicine (TOSSM)
11. การประชุมส่วนภูมิภาคของราชวิทยาลัยฯประจำปี 2555
การประชุมส่วนภูมิภาคของราชวิทยาลัยฯประจำปี 2555 จัดงานร่วมกับการประชุมชมรมออร์โธปิดิกส์ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันที่ 9-10 มกราคม พ.ศ.2556 ณ รร.เลอเมอริเดียน เชียงใหม่โดยมีนพ.สัตยา โรจนเสถียร เป็นประธานจัดการประชุม มีผู้เข้าร่วมประชุมคนไทยประมาณ 500 คน
12. การจัดการประชุมการตรวจสอบและการให้รหัสหัตถการทางออร์โธปิดิกส์ (Orthopaedic Coding and Audit)
การจัดการประชุมการตรวจสอบและการให้รหัสหัตถการทางออร์โธปิดิกส์ (Orthopaedic Codingand Audit) เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2555 ณ ที่ทำการราชวิทยาลัยฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบเวชระเบียนและการให้รหัสหัตถการทางออร์โธปิดิกส์แก่แพทย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงการเสริมสร้างความความเข้าใจใน Standard Coding Guideline V 2011 และเพื่อให้ทราบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ของ Thai DRG V5 โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบไปด้วย แพทย์ออร์โธปิดิกส์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลทั่วประเทศ และเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและให้รหัสหัตถการทางออร์โธปิดิกส์
13. โครงการวิจัยต้นทุนอรรถประโยชน์ของการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในประเทศไทย
โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ การรักษาโรคประกอบด้วยการรักษาทางยา การบริหารข้อเข่าและการผ่าตัด จากการทบทวนวรรณกรรมในต่างประเทศพบว่าการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่ามีความคุ้มค่าในเชิงคุณภาพชีวิต อย่างไรก็ดีต้นทุนการรักษา คุณภาพชีวิตและความคุ้มค่าของการรักษาดังกล่าวมีความแตกต่างกันในบริบทของประชาชนไทย ราชวิทยาลัยฯจึงมอบหมายให้นพ.วีระชัย โควสุวรรณพญ.ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์ และคณะ จัดทำโครงการศึกษาต้นทุนอรรถประโยชน์ในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในประเทศไทยขึ้น โดยมุ่งหวังเพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้รับการรักษาที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพชีวิตที่ดี คุ้มค่ากับค่ารักษาพยาบาล